วันเสาร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


การอ่านออกเสียงตัวอักษรในภาษาฝรั่งเศส

La lanque françaiseL’alphabet français - พยัญชนะภาษาฝรั่งเศส

A อ

B เบ

C เ

D เด

E เออ

F แอฟ

G เช

H อาช

I อี

J ชี

K กา

L แอล

M แอ็ม

N แอ็น

O โอ

P เป

Q กู (เหมือนมีเสียง สระอีออกมาด้วยเล็กน้อย)

R แอร์ (เสียงอยู่ที่โคนคอ จินตนาการเสียงเหนื่อย + จุดกำเนิดการกลั้วน้ำในคอ)

S แอส

T เต

U อู-อี (ออกสองเสียงนี้ให้เร็ว จนกระทั่ง เป็นเสียงเดียว คือจะต้องมีทั้งอูและอี)

V เว (ไม่ใช่ ว.แหวน แต่เหมือนเสียง เฝอะ แบบกัดริมฝีปาก

W ดุบ บะ เว (ว.แหวนไทยละ)

X อิ๊ก

Y อิ๊กแกร็ก

Z แซด**ระวังเสียงตัวแอร์ R ซึ่งไม่มีในไทย ดังนั้นควรระวัง พยายามห้ามตัวเองไม่ใช้การรัวลิ้นแบบ ร.เรือไทย





Pronom Y







 y  เป็นคำสรรพนามที่แทนที่คำนาม โดยมีวิธีใช้ดังนี้

  1. แทนที่คำนามที่เป็นส่วนขยายบอกสถานที่ Complément de lieu ซึ่งตามหลังบุพบทบอกสถานที่ ยกเว้น บุพบท de เช่น
  2. - Je suis allé à Paris.
      J’y suis allé.
    - Elle est entrée dans cette maison.
      Elle y est entrée.
    - Paul doit aller chez Jacques.
      Paul doit y aller.
  3. แทนที่คำนามที่ตามหลังบุพบท à และนามนั้นเป็นสิ่งไม่มีชีวิต เช่น
  4. - Il répondra aux questions.
      Il y répondra.
    - Elle obéit à mon ordre.
      Elle y obéit.
    - Elle n’obéit pas à mon ordre.
      Elle n’y obéit pas.
  5. แทนที่คำนามที่เป็นสิ่งไม่มีชีวิต กับสำนวนต่อไปนี้
  • penser à   คิดถึง
  • songer à   คิดถึง ฝันถึง จดจำ
  • être à   เป็นของ
  • appartenir à    เป็นกรรมสิทธิ์ของ
  • faire attention à   ระวัง เอาใจใส่
  • prendre garde à  ดูแลเอาใจใส่
  • venir à  มาถึง
  • s’intéresser à   สนใจ
  • s’adresser à   กล่าวถึง
  • tenir à    คิดถึง ผูกพัน รักใคร่
- Elle pense à son avenir.
  Elle y pense.
- Les chauffeurs doivent faire attention aux feux rouges.
       Les chauffeurs doivent y faire attention.
     - Tenez – vous à votre école ?
       Y tenez – vous ?
   4.    จะไม่ใช้ y  กับ v.aller ใน temps futur simple และ Mode conditionnel présent
- Irez – vous en classe demain ? Oui, j’irai.
- Tes amis et toi, vous irez au musée demain ? Non, nous n’irons pas.
- Iriez-vous à Paris si vous aviez le temps ? Oui , j’irais.
ตำแหน่งของ y  ในประโยคต่างๆ จะอยู่หลังสรรพนามกรรมตรง กรรมรอง แต่อยู่หน้า en
     - Il est allé au musée. Il y est allé.
     - Paul ne doit y aller.
     - Répondez aux quesntions à moi. Répondez – m’y.
     - Va chez Anne ce soir. Vas - y ce soir.





Pronom EN








en เป็นคำสรรพนามที่แทนที่ได้ทั้ง คน สัตว์ หรือสิ่งของ ก็ได้ จะเป็นเพศพจน์อะไรก็ได้ มีวิธีใช้ดังนี้

  1. ใช้แทน article partitif กับคำนาม เช่น
    1. Avez - vous du pain ? Oui, j’en ai.
    2. Boit - elle de la bière ? Non, elle n’en boit jamais.
  2. ใช้แทน คำนามที่ตามหลังคำบอกจำนวน คำบอกปริมาณ ตัวเลข เมื่อแทนที่คำนามด้วย en แล้ว คำบอกจำนวน คำบอกปริมาณ ตัวเลข ยังคงอยู่ เช่น
  3. 2.1 Combien de stylos avez - vous ? J’ en ai trois.
    2.2 Elle a beaucoup d’argent mais sa soeur en a peu. .
    2.3 Combien de sucre voulez - vous ? J’ en veux deux kilos.
    ข้อสังเกต ในประโยคปฏิเสธ ถ้ากล่าวว่าไม่มี จึงไม่ต้องแสดงคำบอกจำนวน เช่น
    2.4 Tu as un crayon ? Oui, j’ en ai un.Non, je n’ en ai pas.
  4. ใช้แทนบุพบท de  กับคำนามที่บอกสถานที่ เช่น
  5. 3.1 Venez - vous de Paris ? Oui, j’en viens.
    3.2 A quelle heure sortez – vous du bureau ? J’ en sors à 5 heures.
  6. ใช้แทน สิ่งไม่มีชีวิต กับ de ที่ใช้กับสำนวนต่างๆ เช่น
    1. L’examen est proche, je lui parle de l’examen.
    2. L’examen est proche, je lui en parle
    3. Avez - vous besoin de ce livre ? Oui j’ en ai besion.
    4. Est - ce que Pierre est arrivé ? Oui j’ en suis sûr. (v.être sûr de)

  • การวาง สรรพนาม en ในประโยคต่างๆ จะอยู่หลัง pronoms personnels ตัวอื่นๆ เช่น
1. Elle a parlé de l’ avenir aux parents ? Oui, elle les en ai parlé.
2. Tu as encore du riz ? Oui, donne m’ en un peu.
3. Il va vendre des jouets à son copain. Il va lui en vendre.
4. Est - ce que tu donnes de l’ argent à ces enfants ? Non, je ne leur en donne pas.

  • ในประโยคคำสั่งบอกเล่าที่สั่ง Tu ของกริยากลุ่มที่ 1 ต้องตัด s ออกนั้น ถ้ามี en ตามมา ให้ใส่  กลับที่เดิม (เพื่อความไพเราะในการออกเสียง)
Mange de la pomme. Manges – en.
Regarde des photos. Regardes – en.

  • ในกรณีที่ประโยคคำสั่งบอกเล่ามีสรรพนามวางหลังมากกว่า 1 ตัว en จะอยู่ท้ายสุด และ ถ้า moi หรือ toi วางอยู่หน้า en จะเขียนดังนี้

Apporte - moi des oranges. Apporte -m’ en.
Donnons - toi du gateau. Donnons - t’ en.






COD/กรรมตรง
ในที่สุด การเรียนภาษาฝรั่งเศสก็หนีเรื่องกรรมไปไม่พ้น เป็นเวรกรรมของคนเรียนพอสมควร เรื่องของกรรมนี้เป็นบทพิสูจน์สำคัญของคนเรียนภาษาฝรั่งเศสทุกคน คนที่อยากจะเข้าใจ ต้องลงทุน สละเวลาศึกษาอย่างจริงจัง ถ้าใช้วิธีอ่านผ่าน ๆ คงยากที่จะบรรลุ
เรามาหว่านพืช หวังผลกันเถิด
กรรมในภาษาฝรั่งเศสมี 2 กลุ่ม คือ กรรมตรง และ กรรมรอง เราจะเริ่มที่สรรพนามกรรมตรงหรือ CODเซ-โอ-เด (Complément d’objet direct) ก่อน หน้าตาของกรรมตรงเป็นดังเห็นในตาราง (ต้องท่อง)

ประธาน
กรรมตรง
Je
me
Tu
te
Il/elle
le, la (se) ดูคำอธิบายการใช้Se ในบทกริยาPronominal
Nous
nous
Vous
vous
Ils/elles
les (se)
ตัวอย่าง
Je vois JeanCOD.      Je le vois.ฉันเห็นฌอง
ฉันเห็นฌอง ฌองเป็นกรรมตรงของกริยา เห็น (สังเกตว่าหลัง voir ไม่มีบุรพบท)ฌองเป็นบุรุษที่ 3 เอกพจน์เพศชาย (เทียบกับประธาน il) จึงใช้สรรพนามกรรมตรงle แทน แล้วเอาขึ้นมาวางหน้ากริยาเห็น ดูตัวอย่างต่อไป
Je cherche mes enfants.      Je les cherche.ฉันหาลูก ๆ
Nous aimons le chat.     Nous l’aimons.เรารักแมว (ย่อรูปด้วย)
ทางลัด ถ้าหลังกริยาเป็น article LE, LA, LES ให้นำมาใช้เป็นกรรมตรงได้ เช่น J'aime les voitures. = Je les aime.


ไวยากรณ์ขั้นสูง
ระวัง เมื่อมีสรรพนามกรรมตรงCODอยู่หน้ากริยา avoir+participe passé (รูปแบบกริยาช่วย avoir+กริยาแท้ต้องทำการ Accord ตามเพศและพจน์ของกรรมตรง
ตัวอย่าง
Qui a acheté ces voituresCOD ? ใครซื้อรถพวกนี้มา
ð C’est moi qui lesCOD ai achetéesฉันเป็นคนซื้อรถพวกนี้มาเอง
รูปแบบกริยาช่วย avoir+กริยาแท้ อื่น ๆ ที่สำคัญจะมีให้เห็นใน plus-que-parfait, futur antérieur รวมถึง conditionnel passé ด้วย เช่น
Je les avais achetées...
Je les aurai achetées...
Je les aurais achetées...

เมื่อศึกษาจนเข้าใจแล้ว ก็ไปเรียนเรื่องกรรมรองต่อได้